บทสัมภาษณ์ คุณพจนา สวนศรี ผู้บุกเบิกองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน (ตอนที่ 2)

Last updated: 3 เม.ย 2563  |  3129 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บทสัมภาษณ์ คุณพจนา สวนศรี ผู้บุกเบิกองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน (ตอนที่ 2)

ถามจริงๆ  พี่หน่อย พจนา  สวนศรี
บทสัมภาษณ์ คุณพจนา สวนศรี ผู้บุกเบิกองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย
ดำเนินรายการโดย คุณวรพงศ์ ผูกภู่ (บริษัท อาร์แอนด์ดี ครีเอชั่น จำกัด)

บทสัมภาษณ์ ตอนที่

คำถาม : แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือ CBT ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าประเทศไทยให้การยอมรับเป็นอย่างมาก เพราะมีความคาดหวังในการสร้างเศรษฐกิจโดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก การที่เราฝากความหวังเศรษฐกิจเรื่องรายได้ไว้กับการท่องเที่ยว พี่หน่อยมีความน่าห่วงใยหรือมีอะไรต้องคำนึงถึงบ้าง
ตอบ : สังคมมีพลวัต เรื่องของการท่องเที่ยวโดยชุมชนก็มีพลวัตเหมือนกัน ดังนั้นจะไปโยนภาระไว้ที่การท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ตอบทุกเรื่องของชุมชนอาจจะมากไป คือด้านหนึ่ง หากถามว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนตอบเรื่องเศรษฐกิจฐานรากได้หรือไม่ พี่ว่าได้ เพราะมันไม่ใช่เครื่องมือที่ทำได้ทุกชุมชน  ตัวอย่างที่สำเร็จก็มี ไม่ได้มองว่าทุกชุมชนจะเป็นแบบนั้น หรือมันอาจจะมีการเชื่อมประสานที่ทำให้บางชุมชนทำเรื่องของการท่องเที่ยวโดยชุมชน บางชุมชนทำเศรษฐกิจฐานอื่นที่เป็นเรื่องของอุปทานให้กับหน่วยธุรกิจอื่นๆ ที่ใหญ่กว่าชุมชน  ต้องมีการออกแบบ คือการจะบอกว่าถ้าอยากให้เศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็งขึ้น ต้องมองต้นทุนทางทรัพยากรฐานรากว่าคืออะไร และจะพัฒนาด้านใดบ้าง หากจุดนั้นมีโอกาสที่จะพาคนมาเที่ยวและชุมชนได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว ก็ได้ แต่หากจุดนั้นทำเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เป็นครัวไทยครัวโลกอย่างที่รณรงค์ แต่ไม่ได้ช่วยส่งเสริมเขาทำการผลิตทางการเกษตร มีการแปรรูปหรือส่งสู่ผู้บริโภคได้ ก็ไม่ได้ หรือเป็นเรื่องของสุขอนามัย แพทย์พื้นบ้าน แพทย์แผนไทย เราก็สามารถที่จะพัฒนา คือเรามองว่ามีเศรษฐกิจหลายตัวที่สามารถทำได้ในชุมชนท้องถิ่น  CBT เป็นเศรษฐกิจตัวหนึ่งและไม่ได้ตอบโจทย์เศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมตอบโจทย์ไปถึงสิ่งแวดล้อม การจัดการชุมชน แบบแผนทรัพยากร


ผู้ดำเนินรายการ : โดยสรุปคือ การท่องเที่ยวตอบมิติเศรษฐกิจได้ แต่ไม่ใช่ทุกพื้นที่ การมองเรื่องเศรษฐกิจฐานราก หรือเศรษฐกิจของชุมชน สามารถมองไปถึงการพัฒนาในจุดอื่น ๆ ก็ได้ หรือพัฒนาศักยภาพที่เป็นจุดแข็งของชุมชน ไปเสริมการท่องเที่ยวในระดับอื่น อาจจะไม่ต้องยกหมู่บ้านเขาเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวก็ได้

คำถาม : มีอะไรอยากจะบอกกับคนที่ทำงานเป็นพี่เลี้ยงชุมชน (รัฐ นักวิชาการ ภาคธุรกิจ NGO) ต่อการพัฒนา การท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือ CBT บ้าง
ตอบ : เราจะทำอะไรต้องเริ่มจากความรักและความเชื่อ ความรับผิดชอบ  เราต้องถามตัวเองเองว่า มีสิ่งเหล่านี้เพียงพอหรือไม่ มีความรู้หรือไม่ หากเราไม่มีความรู้แต่มีโอกาส เราสามารถใช้โอกาสตรงนั้นดึงคนที่มีความรู้มาร่วมด้วยจะทำให้เรื่องนี้สามารถดำเนินต่อไปได้บนฐานความรู้ และความรักเวลาที่เรารักเราจะเป็นห่วงเป็นใยและอยากให้ประสบผลสำเร็จ หากเรารู้สึกว่ามันจะไม่ประสบความสำเร็จ เราอาจจะถอนตัวไม่ดันทุรังทำต่อไป พอมีความรัก ความรู้ ความรับผิดชอบ และรู้จักจะถอนตัว หรือที่จะบอกว่าไปต่อไม่ได้  ส่วนความเชื่อเป็นการผลักดันให้เราอยากที่จะพิสูจน์หรือสร้างการเปลี่ยนแปลง ไม่เช่นนั้นจะมีเพียง CBT  อย่างเดียว แต่หากเราเชื่อว่าสามารถไปได้ต่อ ไปได้อีกแนวทางหนึ่ง จะเกิดการสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ และความเชื่อที่สำคัญคือต้องเชื่อว่าเค้ามีศักยภาพไม่ใช่เชื่อเพราะลุ่มหลง เช่น เชื่อมั่นในชาวบ้านแต่ไม่ได้มีกระบวนการที่เชื่อมั่นเขาจริงจัง ความเชื่อนี้มันเหมือนเป็นมีปรัชญาในการทำงาน เชื่อในชุมชนที่ทำ มีความเชื่อในแนวคิดทีเราทำ ไม่ใช่เชื่อเพราะเป็นกระแส สุดท้ายคุณก็อาจจะกลับมาใส่ร้ายก็ได้ว่า CBT  ไม่ได้ดีจริงๆ  เพราะคุณทำโดยไม่ได้เชื่อ ไม่ได้รักเพียงพอ ไม่ได้รัก และไม่ได้ใช่ความรู้ที่คุณไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะความรู้สามารถประสานคนที่มีความรู้มาช่วยได้

คำถาม : อยากฝากเทคนิคหรือข้อคิดอะไรให้กับ คนที่ตั้งใจจริงที่ทำงานแบบนี้บ้าง เพื่อให้คนที่ทำงานแบบนี้ต่อไปได้โดยไม่ท้อ
ตอบ : สมัยก่อนพี่มองว่าเรากำลังทำงานศิลปะอย่างหนึ่ง แต่พอช่วงหนึ่ง ณ ขณะนี้อาจเป็นงาน ตามกระแส ซึ่งอาจจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่มีความคิด ความเชื่อ ความฝัน  ที่กำลังอ่านสถานการณ์ของสังคม อ่านความรู้สึกของตัวเองและมีความรักความรับผิดชอบ ความรู้ที่จะทำมัน ทำให้มันเป็นในงานสร้างสรรค์ งานนวัตกรรม เพราะต้องใช้เวลา  และจะมีกลุ่มคนบางคนที่อยากทำ ณ จุดนั้น เรียกว่าข้ามพ้นเรื่องของ ช่วงเวลา งานจะสิ้นสุดได้เพราะความรักและความทุ่มเท อยากให้โอกาสในการสร้างสรรค์แต่คุณต้องเชื่อมั่นและทำอย่างต่อเนื่อง เพราะเราทำงานที่ยาก อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จได้อย่างเร็ววัน 2. อีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังทำงานเพราะอาจเป็นโอกาส ความรับผิดชอบ สิ่งที่ได้รับมอบหมาย อยากให้คุณใส่ความรัก ความเชื่อ ความต่อเนื่อง และคิดเชิงระบบ ใช้ความรู้นำ ไม่ใช่ใช้ความเชื่อหรือภารกิจนำ ขาดการวิเคราะห์รอบข้าง เพราะการวิเคราะห์รอบข้างจะทำให้ประสบผลสำเร็จและเคลื่อนงานต่อไป หากอยู่ในกลุ่มนี้ต้องหมั่นหาความรู้ อย่างไรก็ตาม งานพัฒนาต้องการความต่อเนื่อง และความไว้วางใจกับคนที่ทำงาน  และในเรื่อง  CBT  ต้องทำงานกับคนหลายฝ่าย ต้องสามารถสร้างความไว้วางใจกับคนที่ทำงานรอบตัว อย่าทำแล้วทิ้งขว้าง อย่าทำเพราะเป็นกระแส อย่าทำเพียงแค่เป็นภารกิจ อาจเกิดการเสียศรัทธา ชาวบ้านอาจบอบช้ำ และไม่อยากทำงานดีกับคนดีๆ ที่ทำงานกับเขาต่อไป

คำถาม : อยากให้พี่หน่อยช่วยพยากรณ์อนาคตการท่องเที่ยวโดยชุมชน อีก 10 ปีข้างหน้า ว่าจะเป็นอย่างไร
ตอบ : พยากรณ์ว่า สิ่งที่ตอนนี้โตเยอะๆ อาจจะมีบางส่วนที่ไปรอด บางส่วนที่ไปไม่รอด มีมนุษย์พันธุ์แกร่งเท่านั้นที่จะไปรอด   คนที่ไปรอดน่าจะเป็นคนที่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย และเห็นในหลายชุมชนที่มีคนรุ่นใหม่กลับบ้าน คือน่าจะเปลี่ยนแปลงด้วยพลังคนรุ่นใหม่ที่จะสามารถอยู่กับพลวัตกับสังคมได้ คือ มีคนรุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญของชุมชน ที่จะไปข้างหน้า คิดว่าจะขับเคลื่อนด้วยคนรุ่นใหม่และอาจจะเป็นในเชิงปัจเจกมากขึ้น เพราะ ถ้ารุ่นพ่อแม่อาจก่อร่างสร้างตัวแบบสังคมอีกแบบหนึ่ง ได้พูดคุยกัน ไม่ทำเรื่องนี้เพื่อที่ได้มาเป็นเศรษฐกิจหลัก ทำกันเพื่อที่อยากเผยแพร่ของดี ความภาคภูมิใจ เป็นรายได้เสริม เป็นหลายๆ แรงจูงใจในการทำ พอคนรุ่นใหม่กลับมาช่วยดูแลอาจจะเพราะพ่อแม่แก่เฒ่าและมองเห็นโอกาส คือ เห็นคนมาเที่ยวในชุมชน เห็นโอกาสทางด้านอาชีพ และใช้สิ่งที่ตัวเองได้เรียนรู้และศึกษามา เพียงแค่เค้าไม่ได้มีพื้นฐานแต่มีการคิดเชิงปัจเจก อยากกลับบ้านมาดูแลพ่อแม่และอยากใช้สิ่งที่เรียนรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ ซึ่งข้อห่วงใยของพี่คือจะขาดเรื่องของฐานการทำเพื่อชุมชน ถ้าไม่มีกระบวนการต่อเนื่องของคนรุ่นพ่อแม่ที่จะบอกว่าทำเรื่องนี้เพื่ออะไร หากจะมาสานต่อ ต้องสานต่ออุดมการณ์ด้วย ไม่ใช่เพียงธุรกิจ จึงเป็นทั้งพยากรณ์และความห่วงใย


ผู้ดำเนินรายการ : โดยสรุปการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอีก 10 ปีข้าหน้าอย่างไรก็ตามมีคนไปเที่ยวอยู่แล้ว แต่บทบาทของชุมชนอาจจะไม่ใช่อย่างทุกวันนี้ อาจจะเป็นคนในชุมชนที่เป็นคนรุ่นใหม่ เป็นรายบุคคลที่ลุกขึ้นมาจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนของตนเอง
ตอบ : พี่มองว่าโตไปด้วยกัน ซึ่งอุปสงค์ อุปทานจะจัดการตัวมันเอง ตัวที่ใช้ CBT ที่ใช้จะรอดในแนวคิดที่ว่า นักท่องเที่ยวมามีความประทับใจ ชุมชนยังรักษาฐานทรัพยากรไว้ได้ แต่รอดแล้วจะรุ่งเรืองนั้นจะมีตัวปัจจัยภายนอกเช่นในรุ่นลูกที่จะปรับและเปลี่ยนแปลง แต่จะไปทางใดก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละชุมชน อาจจะทำในลักษณะเป็นกลุ่มและขับเคลื่อนด้วยคนรุ่นใหม่ อาจจะสลายความเป็นกลุ่มและให้คนรุ่นใหม่เข้ามา อาจจะโตภายใต้ความสัมพันธ์อีกแบบ ก็จะสร้างภูมิคุ้มกันว่า เห็นโอกาสและพัฒนาด้านเศรษฐกิจโดยสนใจคนรอบข้างและความเป็นชุมชน ซึ่งในตรงนี้น่าท้าทาย ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันกับที่อยากเห็นเมื่อคนรุ่นใหม่กลับมาต้องเปิดพื้นที่ให้กับเขา ไม่ได้อยู่ในระบบเก่าไม่ใช่นั้นจะเติบโตต่อไปไม่ได้ การเติบโตของเขามีฐานของสิ่งที่รุ่นแรก รุ่นพ่อแม่ทำไว้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้