อะไรคือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (What is Action Research)

Last updated: 28 ต.ค. 2562  |  25978 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อะไรคือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (What is Action Research)

อะไรคือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (What is Action Research)
เขียนโดย วรพงศ์ ผูกภู่ (บริษัท อาร์แอนด์ดี ครีเอชั่น จำกัด)

     การวิจัย คือ กระบวนการในการค้นหาความรู้ ความจริง โดยการศึกษาค้นคว้า ทดลอง ประเมินผล จนเชื่อได้ว่าเป็นคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ กระบวนการเหล่านี้ เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Science) ที่เป็นที่ยอมรับในการค้นหาความจริงและความรู้ ที่นำไปสู่การต่อยอดในด้านการพัฒนาหรือใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เป็นสากล ซึ่งแท้จริงแล้วกระบวนการวิจัยเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษยชาติที่ได้ลองผิด ลองถูก จดจำ บันทึก รวบรวมและส่งต่อองค์ความรู้เหล่านั้นจากรุ่นสู่รุ่น เพียงแต่เขาเหล่านั้นไม่ได้เรียกสิ่งที่ได้ลงมือทำว่า งานวิจัย
    งานวิจัยรูปแบบหนึ่งที่เป็นการวิจัยเพื่อมุ่งหวังการใช้ประโยชน์ มีความเป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ (Apply Research) หรือมีลักษณะเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ที่นิยมใช้ในการพัฒนาชุมชนหรือกลุ่มต่าง ๆ  ในสังคม นั่นก็คือ รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งมีนิยามความหมายดังนี้

อุทัย ดุลยเกษม (2543) กล่าวว่า
    การวิจัย หมายถึง กระบวนการในการแสวงหาความรู้ใหม่ หรือ เป็นการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ปฏิบัติการ หมายถึง เป็นการลงมือดำเนินการ เพื่อให้บรรลุตามต้องการ

ในส่วนของผู้เขียนนั้น ขอสรุปจากประสบการณ์และจากการศึกษาค้นคว้าจากหลากหลายแหล่งข้อมูล โดยให้คำนิยามของงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  ว่า

     งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  มาจากฐานคิดที่เชื่อว่า ความรู้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการพัฒนา นำไปสู่การแก้ปัญหาและการใช้ประโยชน์  ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ระหว่างการวิจัยเป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)

เป้าหมายของงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในการวิจัยในพื้นที่ชุมชน ผู้เขียนสรุปออกมาเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 งานวิจัย ก่อให้เกิดกระบวนการทางสังคม เช่น การเวทีพูดคุย เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดการวิเคราะห์และตระหนักรู้ ถึงข้อมูล สถานการณ์ต่าง ๆ ของชุมชน

ระดับที่ 2 ได้องค์ความรู้ใหม่ หรือเป็นการเพิ่มเติมความรู้เดิมที่มีอยู่ อาจหมายถึงการอธิบายความรู้หรือภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้สมัยใหม่ วิเคราะห์ให้เห็นถึงพัฒนาการและปัจจัยการเปลี่ยนแปลงได้

ระดับที่ 3 นำไปสู่การแก้ปัญหา การพัฒนา สร้างการเปลี่ยนแปลง

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้